ถึงผู้ใช้ตำราเล่มนี้

I. โครงสร้าง

ตำรา Minna no Nihongo Shokyu I (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย “ตำราหลัก” (มีซีดี ประกอบ) และ “ตำราฉบับแปลและอธิบายไวยากรณ์” สำหรับ “ตำราฉบับแปลและอธิบายไวยากรณ์”ได้รับการแปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 14 ภาษา โดยเริ่มจาก ฉบับภาษาอังกฤษ

II. เนื้อหา

1. ตำราหลัก

1) การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น

ยกตัวอย่างจุดที่ควรระวังในการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น

2) คำศัพท์ในชั้นเรียน คำทักทายในชีวิตประจำวันและสำนวนที่ใช้ในการสนทนา ตัวเลข

แนะนำคำศัพท์ที่ใช้ในชั้นเรียนและคำทักทายในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

3) ตัวบท

มีทั้งหมด 25 บท แต่ละบทมีเนื้อหาแยกเป็นข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

① รูปประโยค

แนะนำรูปประโยคพื้นฐานที่จะเรียนในบทนั้น ๆ

② ประโยคตัวอย่าง

แนะนำประโยคตัวอย่างในรูปแบบคำถามคำตอบสั้น ๆ เพื่อให้ทราบว่าจะนำรูปประโยคพื้นฐานเหล่านั้นไปใช้จริงอย่างไร แนะนำวิธีใช้คำเชื่อม คำกริยาวิเศษณ์ ฯลฯ ที่เป็นคำศัพท์ใหม่ และเนื้อหาอื่น ๆ นอกจากรูปประโยคพื้นฐานในบทนั้น ๆ

③ บทสนทนา

ดำเนินบทสนทนาโดยตัวละครที่เป็นชาวต่างชาติซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นในสถานการณ์ที่หลากหลาย และแนะนำสำนวนต่าง ๆ เช่น สำนวนทักทายในชีวิตประจำวัน ฯลฯ เพิ่มเติมจากเนื้อหาในแต่ละบท หากมีเวลาให้นำคำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ใน “ตำราฉบับแปลและ อธิบายไวยากรณ์” มาปรับใช้เพื่อพัฒนาทักษะในการสนทนา

④ แบบฝึก

แบบฝึกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ แบบฝึก A, B และ C

แบบฝึก A จัดวางรูปแบบของแบบฝึกให้อ่านได้สบายตา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ได้ง่าย โดยคำนึงถึงรูปแบบที่จะช่วยให้ผู้เรียนจดจำรูปประโยคพื้นฐาน รวมถึงเรียนรู้วิธีการผันคำและวิธีการเชื่อมประโยค ฯลฯ ได้อย่างง่ายดาย

แบบฝึก B ใช้รูปแบบการฝึกที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนจดจำรูปประโยคพื้นฐานได้อย่างแม่นยำ ข้อที่มีสัญลักษณ์ ➡ ปรากฏอยู่เป็นแบบฝึกที่ใช้ภาพประกอบการฝึก

แบบฝึก C เป็นแบบฝึกที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสาร แม้จะเป็นการฝึกสร้างบทสนทนาโดยการแทนที่คำศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ในบทสนทนา แต่เพื่อไม่ให้เป็นเพียงการฝึกเปลี่ยนคำศัพท์ จึงพยายามหลีกเลี่ยงตัวเลือกที่จะนำมาแทนที่คำศัพท์ที่เป็นตัวอักษรอย่างสุดความสามารถ ดังนั้นจึงสร้างแบบฝึกที่ผู้เรียนสามารถจินตนาการตัวอย่างบทสนทนาที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างอิสระจากรูปภาพเพียง 1 ภาพ

อนึ่ง ตัวอย่างคำตอบของแบบฝึก B และแบบฝึก C จะรวบรวมไว้ใน “ตัวอย่างคำตอบและสคริปต์แบบฝึกท้ายบท”

⑤ แบบฝึกท้ายบท

แบบฝึกท้ายบทประกอบด้วยแบบฝึกฟัง แบบฝึกไวยากรณ์ และแบบฝึกอ่าน แบบฝึกฟังแบ่งเป็นแบบฝึกตอบคำถามสั้น ๆ และแบบฝึกฟังจับใจความจากบทสนทนาสั้น ๆ แบบฝึกไวยากรณ์เป็นแบบฝึกเพื่อทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ที่ได้เรียนในบทนั้น ๆ ส่วนแบบฝึกอ่านจะให้อ่านบทความง่าย ๆ ที่ใช้คำศัพท์และรูปประโยคที่เรียนไปแล้ว แล้วทำแบบฝึกรูปแบบต่าง ๆ

⑥ แบบฝึกทบทวน

ทุก ๆ 3 หรือ 4 บทจะมีแบบฝึกทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้ว

⑦ แบบฝึกคำกริยาวิเศษณ์ คำเชื่อม และสำนวนที่ปรากฏในบทสนทนา

เป็นแบบฝึกที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทบทวนคำกริยาวิเศษณ์ คำเชื่อม และสำนวนต่าง ๆ ที่ปรากฏในตำราเล่มนี้

4) รูปคำกริยา

สรุปรูปคำกริยาและรูปไวยากรณ์ที่ตามหลังคำกริยาแต่ละรูปที่ปรากฏในตำราเล่มนี้

5) ตารางสรุปหัวข้อที่ศึกษา

สรุปหัวข้อที่ได้ศึกษาในตำราเล่มนี้โดยอ้างอิงจากแบบฝึก A เป็นหลักเพื่อให้ทราบรูปประโยคและประโยคตัวอย่าง นอกจากนี้ แบบฝึก B และแบบฝึก C ยังสอดคล้องกับหัวข้อที่ได้เริ่มเรียนในแบบฝึก A ด้วย

6) ดัชนีคำศัพท์

รวบรวม “คำศัพท์ในชั้นเรียน” “คำทักทายในชีวิตประจำวันและสำนวนที่ใช้ในการสนทนา” และคำศัพท์ใหม่ในแต่ละบท รวมทั้งสำนวนที่เป็นสำนวนใหม่ในบทนั้น ๆ

7) ซีดีประกอบ

ภายในซีดีประกอบด้วยบทสนทนาและแบบฝึกฟังของแต่ละบท

2. ตำราฉบับแปลและอธิบายไวยากรณ์

1) อธิบายเกี่ยวกับหลักทั่วไปในภาษาญี่ปุ่น อักษรญี่ปุ่น และระบบการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น

2) คำแปลคำศัพท์ในชั้นเรียน คำทักทายในชีวิตประจำวันและสำนวนที่ใช้ในการสนทนา

3) คำแปลและคำอธิบายเนื้อหาของตัวบท ดังนี้

① คำศัพท์ใหม่และคำแปล

② คำแปลรูปประโยค ประโยคตัวอย่าง และบทสนทนา

③ แนะนำคำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในแต่ละบทและข้อมูลเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

④ อธิบายไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรูปประโยคและสำนวน

4) ตารางสรุปเกี่ยวกับตัวเลข กาลวิเศษณ์ การแสดงระยะเวลา ลักษณนาม ตารางผันคำกริยา เป็นต้น

III. ระยะเวลาในการศึกษา

ใช้เวลาศึกษาบทละ 4-6 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 ชั่วโมง

IV. คำศัพท์

แนะนำคำศัพท์ประมาณ 1,000 คำ โดยคัดเลือกจากคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

V. ข้อควรระวังในการใช้อักษรคันจิ

ตามหลักแล้วจะยึดตามตารางโจโยคันจิ หรือตารางอักษรคันจิที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน (ประกาศ ใช้ในปี 1981)

1)「熟字訓(じゅくじくん)(คำที่ประกอบด้วยอักษรคันจิตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปและมีวิธีอ่านแบบพิเศษ) ที่ปรากฏในตารางโจโยคันจิจะเขียนด้วยอักษรคันจิ

ตัวอย่าง
友達(ともだち) เพื่อน
果物(くだもの) ผลไม้
แว่นตา

2) อักษรคันจิหรือเสียงอ่านที่ไม่ได้ปรากฏในตารางโจโยคันจิแต่ถูกนำมาใช้เป็นคำวิสามานยนาม เช่น ชื่อประเทศ ชื่อสถานที่ หรือคำศัพท์เฉพาะทาง เช่น ศิลปวัฒนธรรม จะเขียนด้วยอักษรคันจิ

โอซาก้า

ตัวอย่าง
大阪(おおさか)
奈良(なら) นาระ
歌舞伎(かぶき) คาบุกิ

3) เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดความสับสน คำศัพท์บางคำจะเขียนด้วยอักษรคานะ

ตัวอย่าง
ある((る・(る) มี (ในครอบครอง), มี, อยู่
たぶん(多分(たぶん) บางที
きのう(昨日(きのう) เมื่อวานนี้

4) ตัวเลขจะแสดงด้วยตัวเลขอารบิก

ตัวอย่าง
() 9 โมง
(がつ)1日(ついたち) วันที่ 1 เมษายน
(ひと) 1 อัน, 1 ชิ้น

VI. อื่นๆ

1) คำและวลีในประโยคที่สามารถละได้จะแสดงด้วย [ ]

ตัวอย่าง
(ちち)は 54[(さい)]です。 พ่ออายุ 54 [ปี]

2) คำและสำนวนที่แสดงความหมายเหมือนกันจะแสดงด้วย ( )

ตัวอย่าง
だれ(どなた) ใคร